เมนู

มาคันทิยสูตรที่ 9


ว่าด้วยเรื่องทิฏฐิ 62


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
[416] ความพอใจในเมถุนธรรม
ไม่ได้มีแก่เราเพราะได้เห็นนางตัณหา นาง
อรดี และนางราคาเลย ความพอใจในเมถุน-
ธรรมอย่างไร จักมี เพราะได้เห็นสรีระแห่ง
ธิดาของท่านอันเต็มไปด้วยมูตรและคูถเล่า
เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องสรีระแห่งธิดาของ
ท่านนั้นแม้ด้วยเท้า.

มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า
ถ้าพระองค์ไม่ทรงปรารถนานางแก้ว
ที่พระราชาผู้เป็นจอมนระเป็นอันมากทรง
ปรารถนากันแล้วเช่นนี้ไซร้ พระองค์ตรัส
ทิฏฐิ ศีล พรต ชีวิต และการเข้าถึงภพของ
พระองค์เช่นไรหนอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาคันทิยะ
กิจที่เราวินิจฉัยในธรรม คือ ทิฏฐิ
62 แล้วจึงยึดถือเอาว่า เรากล่าวทิฏฐินี้ว่า

ข้อนี้เท่านั้นจริง ข้ออื่นเปล่า ดังนี้ ย่อม
ไม่มีแก่เราและเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย
อยู่ ไม่ได้ยึดถือทิฏฐิอะไร ๆ เมื่อค้นคว้า
สัจจะทั้งหลาย ก็ได้เห็นนิพพานกล่าวคือ
ความสงบ ณ ภายใน.

มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า
ทิฏฐิเหล่าใด ที่สัตว์ทั้งหลายได้วินิจ-
ฉัยกำหนดไว้แล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี
พระองค์ไม่ได้ยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นเลย ตรัส
เนื้อความนี้ใดว่า ความสงบ ณ ภายใน เนื้อ
ความนั้นอันนักปราชญ์ทั้งหลายประกาศไว้
อย่างไรหนอ ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่ข้า
พระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาคันทิยะ
เราไม่ได้กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยการ
เห็น การฟัง การรู้ ทั้งด้วยศีลและพรต
เราไม่กล่าวความบริสุทธิ์เว้นจากการเห็นจาก
การฟัง จากการรู้ จากศีลและพรต ก็
บุคคลสละธรรม เป็นไปในฝ่ายดำมีทิฏฐิ
เป็นต้นเหล่านี้แล้ว ไม่ถือมั่น เป็นผู้สงบ

ไม่อาศัยธรรมอะไรแล้วไม่พึงปรารถนาภพ.
มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า
ได้ยินว่า ถ้าพระองค์ไม่ตรัสความ
บริสุทธิ์ด้วยการเห็น การฟัง การรู้ ทั้งศีล
และพรต พระองค์ไม่ตรัสความบริสุทธิ์เว้น
จากการเห็น จากการฟัง จากการรู้ จากศีล
และพรต ข้าพระองค์ย่อมสำคัญธรรมเป็นที่
งงงวยทีเดียว ด้วยว่า ชนบางพวกยังเชื่อ
ความบริสุทธิ์ด้วยการเห็น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาคันทิยะ
ก็ท่านอาศัยการเห็น ถามอยู่บ่อย ๆ
ได้ถึงความหลงใหลไปในทิฏฐิที่ท่านยึดมั่น
แล้ว และท่านก็ไม่ได้เห็นสัญญาแม้แต่น้อย
แต่ความสงบ ณ ภายในที่เรากล่าวแล้วนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงตั้งอยู่โดยความเป็นผู้
หลง.
ผู้ใดย่อมสำคัญด้วยมานะ หรือด้วย
ทิฏฐิว่า เราเป็นผู้เสมอเขา วิเศษกว่าเขา
หรือเลวกว่าเขา ผู้นั้นพึงวิวาท เพราะมานะ
หรือทิฏฐินั้น.

ผู้ใดไม่หวั่นไหว ในการถือตัวว่า
เสมอเขา วิเศษกว่าเขา ดังนี้เป็นต้น ผู้นั้น
ย่อมไม่มีการวิวาท บุคคลผู้มีมานะและทิฏฐิ
อันละได้แล้วนั้น ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ จะ
พึงกล่าวอะไร สิ่งนี้เท่านั้นจริงหรือจะพึง
วิวาทเพราะมานะหรือทิฏฐิอะไรว่า ของเรา
จริง ของท่านเท็จ อนึ่ง ความสำคัญว่า
เสมอเขาหรือว่าไม่เสมอเขา ย่อมไม่มีในที่
ใด ผู้นั้นจะพึงโต้ตอบวาทะกับใคร ๆ.
มุนีละอายได้แล้ว ไม่ระลึกถึง
อารมณ์เครื่องกำหนดหมาย ไม่กระทำความ
สนิทสนมในชาวบ้าน เป็นผู้สงัดจากกามทั้ง
หลาย ไม่ทำอัตภาพให้เกิดต่อไป ไม่พึง
กล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกับคน.
บุคคลผู้ประเสริฐ สงัดแล้วจาก
ธรรมมีทิฏฐิเป็นต้นเหล่าใด พึงเที่ยวไปใน
โลก ไม่พึงถือเอาธรรมมีทิฏฐิเป็นต้นเหล่า
นั้นขึ้นกล่าว มุนีผู้มีถ้อยคำสงบ ไม่กำหนัด
ยินดี ไม่ติดอยู่ในกามและในโลก เหมือน
ดอกปทุม มีก้านเป็นหนาม เกิดในน้ำโคลน
ตม ไม่ติดอยู่ด้วยน้ำและโคลนตม ฉะนั้น.

บุคคลผู้ไม่กลับมาสู่มานะด้วยการ
ทราบ อันต่างด้วยอารมณ์ มีรูปที่ได้ทราบ
แล้วเป็นต้น บุคคลนั้นไม่เป็นผู้สำเร็จแล้ว
ด้วยตัณหา มานะ และทิฏฐินั้น บุคคลนั้น
แม้กรรมและสุตะพึงนำไปไม่ได้ บุคคลนั้น
อันสิ่งใดสิ่งหนึ่งน้อมนำเข้าไปไม่ได้แล้วใน
นิเวศน์ คือ ตัณหาและทิฏฐิ.
กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายย่อมไม่มี
แก่บุคคลผู้คลายสัญญาได้แล้ว ความหลงทั้ง
หลายย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้หลุดพ้นแล้วด้วย
ปัญญา ชนเหล่าใดยึดถือกามสัญญาและ
ทิฏฐิ ชนเหล่านั้นกระทบกระทั่งกันและกัน
เที่ยวไปอยู่ในโลก.

จบมาคันทิยสูตรที่ 9

อรรถกถามาคันทิยสูตรที่ 9


มาคันทิยสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ทิสฺวาน ตณฺหํ เพราะเห็นางตัณหา
ดังนี้.
พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ในเวลา
ใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูโลกด้วยทิพยจักษุ ทรงเห็นอุปนิสัยพระอรหัตของมาคันทิย-